วันอาทิตย์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2557


สรุปวิจัย

       เรื่อง  ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับ

                    ประสบการณ์จากการใช้กิจกรรมมุ่งเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

                    และการเล่นตามมุมอย่างมีแบบแผน

              ชื่อผู้วิจัย  นางสาวอัจฉราภรณ์    เชื้อกลาง

                   มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

                    วัตถุประสงค์

                    -  เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับ

                       ประสบการณ์จากการใช้กิจกรรมมุ่งเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และ

                       การเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์อย่างมีแบบแผนก่อนและหลังการทดลอง

                    ตัวแปรที่ศึกษา

                    -  ตัวแปรต้น  คือ  ประสบการณ์จากการใช้กิจกรรมมุ่งเน้นทักษะกระบวนการทาง

                    วิทยาศาสตร์ และการเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์อย่างมีแบบแผน

                    -  ตัวแปรตาม  คือ  ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ด้านทักษะการสังเกต  

                    ทักษะการจำแนกประเภท , ทักษะการแสดงปริมาณ , ทักษะการสื่อความหมาย 

                    ทักษะการลงความเห็น , ทักษะการหามิติสัมพันธ์

                        การเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์อย่างมีแบบแผน  หมายถึง  การเล่นตามมุมที่ครู

                  กำหนดไว้กิจกรรมการเล่นหรือการทดลองโดยเด็กได้รับประสบการณ์ตรง 

                  ได้รวบรวมข้อมูล  คิดค้น  ทดลองทำ  และสรุปผลโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง  5 

                  เรียนรู้จากสื่อวัสดุอุปกรณ์ที่ครูเตรียมไว้อย่างมีจุดประสงค์ 

                  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

                  1.  แผนการจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมมุ่งเน้นทักษะกระบวนการทาง

                  วิทยาศาสตร์ จำนวน 30 แผน มี 6 หน่วยการสอน คือ หน่วยผลไม้ใครๆ ก็

                  ชอบ  หน่วยกล้วยจ๋าน่ากินจัง  หน่วยผักสดสะอาด  หน่วยสัตว์เลี้ยงแสนดี

                  หน่วยต้นไม้เพื่อนรัก  และหน่วยไม้ดอกไม้ประดับ  หน่วยละ 5 แผนใช้เวลา

                  ในการสอนแผนละ 30 นาที รวมเป็นเวลา 6 สัปดาห์ และแผนการจัดประสบการณ์

                   การเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์อย่างมีแบบแผน จำนวน 18 แผน โดยใช้เวลา

                   ในการเล่นตามมุม ครั้งละ 40 นาที สัปดาห์ละ 3 ครั้ง คือ จัดในวันจันทร์ วันพุธ

                    วันศุกร์  เป็นเวลา 6 สัปดาห์

                    ดำเนินการสอน

                      1.  ขั้นนำ  ครูแนะนำกิจกรรมและสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ในมุมวิทยาศาสตร์

                   2.  ขั้นดำเนินกิจกรรม  ให้เด็กได้ลงมือเล่นกับสื่อ วัสดุ อุปกรณ์

                   3.  ขั้นสรุป    ครูสนทนาเกี่ยวกับกิจกรรมที่เด็กได้กระทำในมุมวิทยาศาสตร์

                  ผลวิจัย

                      เด็กได้รับประสบการณ์จากการใช้กิจกรรมมุ่งเน้นทักษะกระบวนการทาง

                  วิทยาศาสตร์และการเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์อย่างมีแบบแผนมีทักษะ

                  กระบวนการทางวิทยาศาสตร์หลังจากทดลองสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง

                  อย่างมีนัยสำคุญทางสถิติที่ระดับ .05

    


วันเสาร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2557

             บันทึกอนุทินครั้งที่ 16


                                                        วิชา  การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  
          
        อาจารย์ประจำวิชา อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ

           วันที่  2  ธันวาคม  2557 เวลา 14.10 - 17.30 น.





                     ความรู้ที่ได้รับ


             สัปดาห์นี้อาจารย์ได้ให้นำเสนอวิจัยและโทรทัศน์ครูต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว

     ดิฉันนำเสนอวิจัยเรื่อง ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

     ที่ได้รับประสบการณ์จากการใช้กิจกรรมมุ่งเน้นทักษะกระบวนการทาง

     วิทยาศาสตร์และการเล่นตามมุมอย่างมีแบบแผน

       จากที่นำเสนอวิจัยเสร็จอาจารย์ก็ได้ให้จับกลุ่มทำกิจกรรมโดยจับกลุ่ม

    ตามที่เขียนแผน อาจารย์ได้ให้ทำแผ่นพับเกี่ยวกับหน่วยที่เราเขียนแผนกลุ่มของ

    ดิฉันทำหน่วยข้าวโพด  เป็นแผ่นพับกิจกรรมสารสัมพันธ์สู่ผู้ปกครอง

    และวันนี้ก็เป็นการเรียนการสอนวันสุดท้ายของเทอม



    ภาพการนำเสนอวิจัยและโทรทัศน์ครู
   













           การนำไปใช้

          - นำความรู้ที่ได้ไปเผยแผ่ให้กับเด็กได้เพราะในชีวิตประจำวันนี้วิทยาศาสตร์

            สำคัญ กับเด็ก

         - สามารถนำความรู้ที่เรียนไปใช้ได้จริงในอนาคต

         -  นำความรู้ที่ได้ไปใช้สอนเด็กในอนาคต


          การประเมิน

          ตนเอง...ตั้งใจเรียน เข้าเรียนตรงเวลาและมีการเตรียมพร้อมกับการนำ

          เสนอวิจัยหน้าชั้นเรียน และมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมกลุ่ม

          เพื่อน...เพื่อนๆตั้งใจเรียนสนใจในการนำเสนอวิจัยและโทรทัศน์ครูและมี

          คุยกันบ้าง

          อาจารย์...อาจารย์แนะนำความรู้เพิ่มเติมจากการนำเสนอวิจัยและโทรทัศน์ครู

          และมีการสอนอย่างละเอียดสิ่งไหนที่ไม่เข้าใจอาจารย์ก็จะคอยซักถามอาจารย์

          ก็จะได้อธิบายให้เข้าใจเพิ่มขึ้น 




วันอาทิตย์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557


           บันทึกอนุทินครั้งที่ 15


                                                        วิชา  การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  
          
        อาจารย์ประจำวิชา อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ

           วันที่  25  พฤศจิกายน  2557 เวลา 14.10 - 17.30 น.


                     ความรู้ที่ได้รับ

                           สัปดาห์นี้อาจารย์ให้ออกมานำเสนอวิจัยและโทรทัศน์ครูการลงมือปฏิบัติ 

             คั้นน้ำจากผัก,ผลไม้,ดอกไม้เพื่อเอาสีมาทำผสมอาหารหรือทำงานศิลปะ ผลการ

            จัดกิจกรรมเรื่องแสงที่มีต่อทักษะการแสวงหาความรู้ การพัฒนาทักษะพื้นฐานทาง

            วิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยด้วยกิจกรรมเครื่องดื่มสมุนไพร  การจำแนก,สังเกต

            สื่อความหมายของข้อมูล หลังจากการนำเสนอวิจัยและโทรทัศน์ครูเสร็จแล้วอาจารย์

            ก็ให้ทำขนม (Waffle) โดยให้จับกลุ่มละ  6-7คน


                                              เพื่อนๆนำเสนอวิจัยและโทรทัศน์ครู




            ขั้นตอนการทำ (Waffle)        
           
           ส่วนผสม

          1.แป้ง
  
          2.เนย

          
3.ไข่ไก่

          4.น้ำเปล่

          วิธีการทำ

          1.เทแป้งลงในภาชนะที่เตรียมไว้

          2.นำไข่ใส่ลงไปตามด้วยเนยจืดคนให้เข้ากัน

          3.เติมน้ำเพื่อไม่ให้แป้งข้นจนเกินไป

          4.คนจนแป้งเข้าที่เป็นเนื้อเดียวกันก็จะได้แบบนี้

          5.แบ่งแป้งใส่ถ้วยที่เตรียมไว้

          6.นำเนยทาที่แม่พิมพ์ที่เตรียมไว้เพื่อไม่ให้แป้งติดแม่พิมพ์

          7.นำแป้งที่แบ่งไว้ในถ้วยเทลงในแม่พิมพ์ที่เตรียมไว้

          8.รอจนสุกก็จะได้ Waffle ที่อร่อยมากๆ

  

       ภาพการทำ  (Waffle)








...อร่อยมากค่ะ...



เพื่อนๆ ในกลุ่ม





            การนำไปใช้

     
             - สามารถสาธิตการทำให้เด็กๆดูได้และเด็กสามารถลงมือปฏิบัติได้จริง

             - สามารถนำไปปฏิบัติใช้จริงได้ในชีวิตประจำวัน

             - สามารถนำความรู้ที่ได้ในวันนี้นำไปสอนเด็กทำขนมได้ในอนาคต


            การประเมินผล


            ตนเอง  ตั้งใจเรียน เข้าเรียนตรงเวลา มีส่วนร่วมกับเพื่อนๆและอาจารย์

            ในการทำกิจกรรม 

            เพื่อน  เพื่อนๆตังใจเรียนมีความสนใจในการฟังเพื่อนออกไปนำเสนอวิจัย

            และโทรทัศน์ครูและมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม

           อาจารย์  อาจารย์ได้ชี้แนะและข้อควรที่ควรปรับปรุงแก้ไขเพื่อที่จะได้ทำ

           ให้ถูกต้อง และอาจารย์ก็ได้สอนวิธีการทำขนม Waffle ได้อย่างละเอียด

           นักศึกษาทุกคนมีส่วนร่วมและได้ลงมือปฎิบัติจริง 

              

 




        
  
                             บันทึกอนุทินครั้งที่ 14



                                                        วิชา  การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  

        อาจารย์ประจำวิชา อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ

           วันที่  18  พฤศจิกายน  2557 เวลา 14.10 - 17.30 น.



                 ความรู้ที่ได้รับ

                วันนี้อาจารย์ก็ได้ให้นำเสนอแผนการสอนต่อจากอาทิตย์ที่แล้ว 3 กลุ่ม มีดังนี้

           1.กลุ่มนกหงส์หยก

           2.กลุ่มสัปปะรด

           3.กลุ่มส้ม

          

ภาพกิจกรรม








             ...หลังจากที่นำเสนอเสร็จอาจารย์ก็ให้ออกมาทีละ 7 คนเพื่ออกมาอ่านวิจัยหรือ

          โทรทัศน์ครููให้คุณครูและเพื่อนๆฟัง หลังจากที่อ่านวิจัยกับโทรทัศน์ครูเสร็จแล้ว

          อาจารย์ก็ได้ทำการสอนและสาธิตการทำ ทาริยากิ ให้ดูและยังให้นักศึกษาได้ลงมือ

          ปฎิบัติจริงอีกด้วย และยังมีเครื่องปรุงและอุปกรณ์ในการทำ ดังนี้



        เครื่องปรุง  
                                                      
        1.ไข่ไก่
        
        2.ข้าว

        3.ปูอัด

        4.ต้นหอม

        5.ซอสแม็กกี้


       อุปกรณ์

       1.กระทะสำหรับทำทาริยากิ

       2.ถ้วย

       3.ช้อน/ซ่อม

ภาพกิจกรรม












            การนำไปใช้

           - สามารถนำสิ่งที่เรียนในวันนี้ไปใช้ได้จริง

           - สามารถนำไปถ่ายทอดหรือสอนให้กับเด็กได้จริงในอนาคต

           - สามารถนำกลับไปทำได้เอง


           การประเมินผล

           ตนเอง...ตั้งใจและสนใจในการทำ ทาริยากิ มีส่วนร่วมกับเพื่อนๆในการทำ

           ทาริยากิ ทำออกมาได้ดีและได้ลองชิมดูอร่อยมาก

          เพื่อน...เพื่อนๆก็ตั้งใจกันร่วมกันทำทาริยากิเป็นอย่างดีค่ะ สนุกสนานในการทำกิจกรรม

          อาจารย์...อาจารย์มีการสาธิตในการทำทาริยากิให้ดูและอธิบายถึงขั้นตอนการทำ