วันอาทิตย์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2557


สรุปวิจัย

       เรื่อง  ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับ

                    ประสบการณ์จากการใช้กิจกรรมมุ่งเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

                    และการเล่นตามมุมอย่างมีแบบแผน

              ชื่อผู้วิจัย  นางสาวอัจฉราภรณ์    เชื้อกลาง

                   มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

                    วัตถุประสงค์

                    -  เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับ

                       ประสบการณ์จากการใช้กิจกรรมมุ่งเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และ

                       การเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์อย่างมีแบบแผนก่อนและหลังการทดลอง

                    ตัวแปรที่ศึกษา

                    -  ตัวแปรต้น  คือ  ประสบการณ์จากการใช้กิจกรรมมุ่งเน้นทักษะกระบวนการทาง

                    วิทยาศาสตร์ และการเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์อย่างมีแบบแผน

                    -  ตัวแปรตาม  คือ  ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ด้านทักษะการสังเกต  

                    ทักษะการจำแนกประเภท , ทักษะการแสดงปริมาณ , ทักษะการสื่อความหมาย 

                    ทักษะการลงความเห็น , ทักษะการหามิติสัมพันธ์

                        การเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์อย่างมีแบบแผน  หมายถึง  การเล่นตามมุมที่ครู

                  กำหนดไว้กิจกรรมการเล่นหรือการทดลองโดยเด็กได้รับประสบการณ์ตรง 

                  ได้รวบรวมข้อมูล  คิดค้น  ทดลองทำ  และสรุปผลโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง  5 

                  เรียนรู้จากสื่อวัสดุอุปกรณ์ที่ครูเตรียมไว้อย่างมีจุดประสงค์ 

                  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

                  1.  แผนการจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมมุ่งเน้นทักษะกระบวนการทาง

                  วิทยาศาสตร์ จำนวน 30 แผน มี 6 หน่วยการสอน คือ หน่วยผลไม้ใครๆ ก็

                  ชอบ  หน่วยกล้วยจ๋าน่ากินจัง  หน่วยผักสดสะอาด  หน่วยสัตว์เลี้ยงแสนดี

                  หน่วยต้นไม้เพื่อนรัก  และหน่วยไม้ดอกไม้ประดับ  หน่วยละ 5 แผนใช้เวลา

                  ในการสอนแผนละ 30 นาที รวมเป็นเวลา 6 สัปดาห์ และแผนการจัดประสบการณ์

                   การเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์อย่างมีแบบแผน จำนวน 18 แผน โดยใช้เวลา

                   ในการเล่นตามมุม ครั้งละ 40 นาที สัปดาห์ละ 3 ครั้ง คือ จัดในวันจันทร์ วันพุธ

                    วันศุกร์  เป็นเวลา 6 สัปดาห์

                    ดำเนินการสอน

                      1.  ขั้นนำ  ครูแนะนำกิจกรรมและสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ในมุมวิทยาศาสตร์

                   2.  ขั้นดำเนินกิจกรรม  ให้เด็กได้ลงมือเล่นกับสื่อ วัสดุ อุปกรณ์

                   3.  ขั้นสรุป    ครูสนทนาเกี่ยวกับกิจกรรมที่เด็กได้กระทำในมุมวิทยาศาสตร์

                  ผลวิจัย

                      เด็กได้รับประสบการณ์จากการใช้กิจกรรมมุ่งเน้นทักษะกระบวนการทาง

                  วิทยาศาสตร์และการเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์อย่างมีแบบแผนมีทักษะ

                  กระบวนการทางวิทยาศาสตร์หลังจากทดลองสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง

                  อย่างมีนัยสำคุญทางสถิติที่ระดับ .05

    


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น